สถานที่ท่องเที่ยวไทย unseen thailand Amazing Thailand
ค้นหาสถานี่ท่องเที่ยวไทย เรมาวดี.คอม
Custom Search
|
- พระอัจฉริยภาพด้านภาษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาที่เมืองโลซานน์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ชั้นประถมจนทรงจบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชากฎหมายและวิชา
รัฐศาสตร์ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และ
ภาษาละตินเป็นอย่างดี
โครงการพระราชดำริ
พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในวโรกาสต่างๆ ของ พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาดังเช่น
พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักธุรกิจและนักหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์ก เมือ
ครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช 2510
ดังนี้
"การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวังหรือแม้แต่คำพูดต่างๆเพียงนิดเดียว
ก็สามารถจะทำลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้
ด้วยความยากลำบากเป็นเวลาแรมปี เหมือนฟองอากาศนิดเดียว ถ้าเข้า
ไปอยู่ในเส้นเลือดก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ทั้งคน และน้ำตาลหวานๆ
ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงในถังน้ำมันรถ ก็จะทำให้เครื่องจักรดีๆของรถ
เสียได้โดยสิ้นเชิง"
จากพระราชดำรัสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปมา "คำพูดเล็กๆน้อยๆ"
เปรียบเทียบกับ "ฟองอากาศ"และ"น้ำตาล" ว่าคำพูดเล็กๆน้อยๆที่ใช้ในการแพร
่ข่าว ถ้าขาดความระมัดระวังก็จะทำลายสิ่งที่สร้างมาด้วยความยากลำบากได้ เช่น
เดียวกับฟองอากาศและน้ำตาล แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าฟองอากาศเข้าไป
อยู่ในเส้นเลือด และน้ำตาลเข้าไปอยู่ในเครื่องยนต์แล้วทั้งเครื่องยนต์และเส้น
เลือดก็จะถูกทำลายลงได้
นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาภาษาละติน
ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องศัพท์ ที่มาของศัพท์ และรากศัพท์อีกทั้งยังสนพระทัย
และค้นคว้าเกี่ยวกับศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะทรงเข้าพระทัยว่าหากเข้า
ใจศัพท์และที่มาของศัพท์แล้วจะช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมะได้อย่างลึก
ซึ้งยิ่งขึ้น
จากภาษาและถ้อยคำที่ปรากฏในวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลที่ 9 หรือในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสใน โอกาสต่างๆล้วน
แสดงให้เห็นถึงถึงพระปรีชาญาณเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงศึกษาภาษาไทย
อย่างจริงจังเมื่อทรงเจริญวัยแล้ว และทรงใช้ภาษาไทยได้เป็นที่จับใจทั้งภาษา
พูดและภาษาเขียน
พระอัจฉริยภาพด้านภาษาของพระองค์นั้น ปรากฏแก่สายตาชาวไทยในพระราช
นิพนธ์หลายต่อหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก"
ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราช
สมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539นั้นถือเป็นพระราชนิพนธ์ที่สำคัญยิ่ง
สำหรับคนไทย ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า
"หนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้า หนังสือนี้ไม่ีมีที่เปรียบและจะเป็นที่ร่าเริงใจ
ของผู้อ่านต้องการใหเห็นว่า สำคัญที่สุดคนเราทำอะไรต้องมีความเพียร
ของจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาเฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์"
อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ภาษาในด้านการ
พระราชนิพนธ์ร้อยกรองคำอวยพรปีใหม่ มอบแด่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ
ซึ่ง ส.ค.ส.ฉบับแรกปี พ.ศ.2529 เพื่อเป็น ส.ค.ส.พระราชทานปี พ.ศ.2530 โดยพระราชทานให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานรับใช้ใต้
เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงพริ้นต์จากคอมพิวเตอร์และส่งแฟกซ์พระราชทาน
ไปยังหน่วยงานโดยทั่วถึงกัน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปี จะประมวลจากเหตุ
การณ์บ้านเมืองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยถ้อยคำที่สั้น ๆ แต่มากด้วยคุณค่า
ทรงเน้นในการเตือนและให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่ง ส.ค.ส.
ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสีขาว – ดำ ทั้งสิ้น
ข้อมูลอ้างอิง stang.sc.mahidol.ac.th/