remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+เชียงใหม่
+เชียงราย
+แม่ฮ่องสอน 
+ลำปาง
+ลำพูน
+น่าน
+แพร่
+พะเยา
+เพชรบูรณ์
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+อุตรดิตถ์
+ตาก
+กำแพงเพชร
+สุโขทัย
+พิจิตร

RemaHealth

ภาคอีสาน
+ชัยภูมิ
+เลย
+นครพนม 
+ร้อยเอ็ด
+มุกดาหาร
+โคราช
+บุรีรัมย์  
+บึงกาฬ
+ุบลราชธานี
+อุดรธานี
+สุรินทร์
อ่านเพิ่ม

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+ตราด
+ชลบุรี
+ระยอง


ภาคกลาง
+กรุงเทพฯ
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท
+ลพบุรี  
+นครปฐม
+ปทุมธานี
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+ราชบุีรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+นครนายก
+สระแก้ว
+ปราจีนบุรี
+เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร
ภาคใต้
+กระบี่ 
+ชุมพร
+สงขลา
+ตรัง 
+นครศรีฯ
+สุราษฎร์ธานี
+นราธิวาส   
+ระนอง
+พัทลุง
พังงา
+ ภูเก๊ต
+ สตูล

คอลัมน์ท่องเที่ยว
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
นกนางแอ่น
+
ตักบาตรเทโว
+เรือหัวโทง
อ่านบทความอื่น

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand
ตามรอยพระบาทแก้ปัญหาขาดสารไอโอดีน

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2559) กล่าว
ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสนพระราชหฤทัย
ปัญหาการขาดไอโอดีนในเด็กไทย เนื่องจากไอโอดีนมีผลต่อพัฒนาการ
ของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะมีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง ใย
สมอง หากขาดไอโอดีนอาจทำให้การเจริญของสมอง และระบบประสาท
ไม่สมบูรณ์


การประยุกต์ใช้ไทรอยด์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (Thyroid Stimulating
Hormone : TSH) จากการตรวจคัดกรองภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง
แต่กําเนิด (Congenital Hypothyroidism) ในกลุ่มทารกแรกเกิด
อายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไปทั่วประเทศ มาประเมินภาวะการ ขาดสาร
ไอโอดีน เป็นต้น
ตามรอยพระบาทแก้ปัญหาขาดสารไอโอดีน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินตามรอยพระบาท โดยนำผลการ
ตรวจคัดกรองระดับ TSH ของทารกแรกเกิดทั่วประเทศมาประเมินระดับ
ความรุนแรงของภาวะการขาดสารไอโอดีนในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2546
-2552 พบว่า ภาวะการขาดสารไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข
ของประเทศไทย และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยมีระดับไอคิว
ที่ต่ำกว่าปกติ

จึงเป็นที่มาของโครงการนวัตกรรมแก้ปัญหาโรคเอ๋อและภาวะขาดสาร
ไอโอดีนในพื้นที่อย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อุดรธานี และหนองคายที่เน้น
การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยกรม
วิทยาศาสตร์การแพทย
์ ร่วมมือกับเครือข่ายสาธารณสุขและชุมชน
ในภาคอีสาน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน
ทำการเพิ่มสารไอโอดีนในระบบห่วงโซ่อาหารและผลผลิตทางการเกษตร
เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน

ตามรอยพระบาทแก้ปัญหาขาดสารไอโอดีน

ทั้งนี้ได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีน
โดยใช้วิธีการฉีดพ่นสารละลายโปรแตสเซียมไอโอเดทในผักท้องถิ่น
เช่น ผักบุ้งจีน ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม คะน้า ต้นหอม กะเพรา สะระ
แหน่ โหระพา และเลี้ยงไก่ไข่ด้วย

อาหารที่ผสมสารโปแตสเซียมไอโอเดทที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้ได้
ไข่ไก่ที่มีไอโอดีนเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการแปรรูปปลาเป็นปลาร้าที่มีการเสริม
ไอโอดีน
เพื่อนำมาบริโภคกันมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นผลพลอย
ได้ตามมาก็คือ พฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนเปลี่ยนไป หันมา
บริโภคอาหารที่ปลูกเองเลี้ยงเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีกิจกรรมที่อยู่ใน (ร่าง) แผนการ
ดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน พ.ศ.
2560-2564 ได้แก่ ความร่วมมือการศึกษาวิจัยและการเฝ้าระวังต่างๆ
โดยตรวจระดับไอโอดีนในเกลือเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่
จำหน่ายในประเทศ ด้วยวิธี ICM-MS ซึ่งเป็นวิธีอ้างอิงและมีความร่วม
มือในการจัดทำแผนทดสอบความชำนาญการตรวจระดับไอโอดีนใน
ปัสสาวะ

ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย

จองที่พักออนไลน์ทั่วไทยโครงการพระราชดำริของในหลวง สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย