สถานที่ท่องเที่ยวไทย unseen thailand Amazing Thailand
ค้นหาสถานี่ท่องเที่ยวไทย เรมาวดี.คอม
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand |
- โขน - ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย
โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะตัว โขนเป็น ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย ซึ่งมักนิยมแสดง
เป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภช
ได้แก่ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณ
กรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์ ควรอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ชมความวิจิตรในการแสดงโขน
โขน - ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย
โขน นำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ
ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และ
เพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็น
เครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการ
ร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่นตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง
ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
- โขน นิยมแสดงเพียง 3ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนหน้าจอและโขนฉาก สำหรับโขนนั่งราวหรือโขน
โรงนอก ไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง
ใช้ราวไม้กระบอกแทนเตียงสำหรับนั่ง และโขนโรงในซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มี
องค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการในการแสดงมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการ
พัฒนาเป็นลำดับ
ในสมัยโบราณ โขนนั้นตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวม
หัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัย
โบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลาย
กระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วย
การกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง
โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง
นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และ
กรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑ โขนกลางแปลง
๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
๓ โขนหน้าจอ
๔ โขนโรงใน
๕ โขนฉาก
ีการจัดแสดงโขนพระราชทาน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงรับสั่งให้มีการจัดการแสดง โขนขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ โขน วิจิตรนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบไป ได้จัดการแสดง โขน รามเกียรติ์ มาเป็นปีที่ 7แล้ว รวม 5 ชุดด้วยกัน ได้แก่ ปี พ.ศ.2551-2 ชุด "ศึกพรหมาศ" ปี พ.ศ.2553 ชุด "นางลอย ปี พ.ศ.2554 ชุด "ศึกมัยราพณ์" ปี พ.ศ.2555 ชุด "จองถนน ปี พ.ศ.2556 ชุด "ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์" และในปี 2557 ชุด "ศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ" |
โขน ชุด "ศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ" 2557
โขน - ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย
ในสมัยโบราณ โขน เป็นการแสดงสำหรับเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น ในปัจจุบันถือว่าโชคดีที่มีโอกาสได้ชมโขน ถึงแม้ว่าเราจะ
ไม่ได้เป็นชนชั้นสูงก็ตาม ซึ่งก็ถือว่าเรื่องที่ดีที่เราจะได้ร่วมกันอนุรักษ์โขนอันเป็นศาสตร์และศิลป์แผ่นดินไทย ด้วยความ
ภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเรา ทุกปีมีการจัดแสดงโขนพระราชทาน นอกจากจะได้ชมการแสดงโขนในแบบดั้งเดิม
แล้ว ยังได้ชมเทคนิคต่างๆที่เพิ่มอรรถรสให้มากยิ่งขึ้น ร่วมถึงฉากหลัง แสงสีเสียงอันตระการตา
นักแสดงนับร้อยๆคนเลย
ทีเดียว ถ้ามีโอกาสก็อยากเชิญชวนทุกท่านให้ไปชมการแสดงโขนอันเป็น ศาสตร์ และศิลป์แผ่นดินไทย เพื่อให้คงอยู่
ไปนานเท่านาน.
จองที่พักออนไลน์ทั่วไทย