คู่มือดูนก
ขั้นแรก ทำความรู้จักนกในถิ่นที่อยู่ก่อน โดยจดจำนกที่พบเห็นบ่อย ๆ
บริเวณบ้าน เพื่อสร้างความชำนาญในการพิจารณาลักษณะและสีสันกิริยา
อาการต่างๆของนก ซึ่งจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมและชีวิตนกได้ดีขึ้นขั้นต่อ
มาการเตรียมอุปกรณ์สำหรับดูนก นั่นก็คือ
1. กล้องส่องทางไกล กำลังขยายที่เหมาะสำหรับการดูนกจะอยู่ในช่วง 7X-10X
2. คู่มือดูนก A Guide to The Bird of Thailand ฉบับสมบูรณ์ เรียบเรียงโดยนาย
แพทย์บุญส่งเลขะกุล และคุณฟิลลิป ดี. ราวนด์ เปรียบเหมือนตำราที่บอก
ถึงชื่อและวงศ์ของนก ข้อมูลของนกแต่ละชนิด ลักษณะต่างๆ ของนก
นอกจากนี้ก็ยังมี Bird Guide of Thailand โดยนายแพทย์บุญส่งเลขะกุลและ
Mr.Edward Cronin Jr. ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง อีกเล่มหนึ่งคือ
A Field Guide to The Bird of South East Asia ของ Mr.Ben King หรือหนังสือ
เล่มอื่นๆที่เกี่ยวกับนก
3. สมุดบันทึก การจดบันทึกจะทำให้เก็บรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับนกไ
ว้ได้ เช่น สี เสียงร้องอาจจะวาดภาพประกอบ รวมทั้งระบุสภาพแวดล้อม
ที่พบเห็นนกในขณะนั้นสถานที่ และเวลา ในการจำแนกชนิดของนกนั้น
สิ่งสำคัญก็คือรูปร่าง วิธีที่นกเคลื่อนไหว วิธีกินอาหารและวิธีการบิน นก
ทุกชนิดมีลักษณะบอกถึงชนิดของตัวเอง
บ้านของนก
นกอาศํยอยู่ตามถิ่่นเกิดดั้งเดิมของมัน ไม่ว่าจะเป็น ทุ่งหญ้า ป่าชื้น ป่าไม้
ยืนต้น หรือหาดทรายโขดหิน แม้แต่ในตัวเมืองก็ยังมีนกพักอาศัย
ป่าเต็งรัง
พรรณไม้เด่นคือ เต็งและรัง มีความหลากหลายน้อยกว่าป่าประเภทใดเพราะ
ไม่มีไม้ชั้นกลางและชั้นล่าง ซึ่งเป็นแหล่งหากินของนกหลายชนิดนกที่พบ
มักเป็นนกขนาดกลาง เช่นนกหัวขวาน นอกจากนี้ยังมีนกปีกลายสก๊อต
นกขุนแผนนกโพระดกธรรมดา นกที่พบบ่อย เช่น นกเขียวก้านตองหน้า
ผากสีทองนกเฉี่ยวบุ้งกลาง นกปรอดหัวสีเขม่า นกขุนทอง และนกกระทาทุ่ง
นกเด่นของป่าเต็งรัง โดยเฉพาะภาคตะวันตกเช่น นกอีแพรดคิ้วขาว
นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม นกกะลิงเขียด นกขมิ้น
หัวดำใหญ่ และเหยี่ยวเล็กตะโพกขาว ส่วนนกขนาดเล็กนั้นพบน้อย
ป่าเบญจพรรณ
เป็นป่าผลัดใบที่เป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด
บางแห่งมีไผ่ขึ้นอยู่ทั่วไป พบตามที่ราบลุ่ม แม่น้ำ หุบเขา และไหล่เขาจนถึง
ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง นกที่พบค่อนข้าง
หลากหลายและคล้ายกับนกในป่าดิบแล้ง มีนกน้อยชนิดที่ชอบอยู่เฉพาะป่า
เบญจพรรณ เช่น นกกะลิงเขียด นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง นกเขียวก้าน
ตองหน้าผากสีทอง และเนื่องจากมีแหล่งน้ำจึงพบนกน้ำน้อย ป่าเบญจพรรณ
มีนกขนาดเล็ก ที่หากินพื้นล่างและระดับกลางของต้นไม้มากกว่าป่าเต็งรัง
ทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้ามีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดจากไร่ที่ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็น
ทุ่งหญ้า บางแห่งมีไม้ยืนต้นขึ้นอยู่ห่างๆ นกที่พบนั้นมีน้อย แต่ตามชายทุ่ง
ซึ่งติดกับป่าจะพบนกหลายชนิด นกเด่นๆ เช่น นกกระทาทุ่ง นกกระจิบ
หญ้าท้องเหลือง นกยอดข้าวหางแพนหัวแดง นกกระติ๊ดแดง นกกินแมลง
กระหม่อมแดง นกกินแมลงตาเหลือง
ป่าดิบแล้ง
พบในระดับความสูง 600-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พรรณ
ไม้ขึ้นปะปนกันหนาแน่น มีความหลากหลายของนกมาก โดยเฉพาะนกใน
วงศ์ไก่และนกกระทา วงศ์นกเขาและนกพิราบ วงศ์นกคัคคู วงศ์นกเค้า วงศ์
นกเงือก วงศ์นกโพระดก วงศ์นกหัวขวาน วงศ์นกปรอด วงศ์นกกางเขน
วงศ์นกจับแมลง วงศ์นกกินปลี นกขุนแผนอกสีส้ม นกขุนแผนหัวแดง นก
ที่อาศัยเฉพาะในป่าดิบแล้ง เช่นไก่ฟ้าพญาลอ นกแต้วแล้วเขียวเขมร นก
โกโรโกโส นกขมิ้นขาว และนกปรอดเล็กสีไพลตาแดง
ป่าดิบชื้น
เป็นป่ารกทึบ เขียวชอุ่มทั้งปี ความหลากหลายของนกสูงมาก ที่พบเช่น วงศ์
นกกินแมลง นกแต้วแล้ว นกเขา นกขุนแผน นกกาฝาก นกกินปลี นกปาก
กบ นกพญาปากกว้าง และนกกระทา
ป่าพรุ
จัดว่าเป็นป่าดิบชื้นแบบพิเศษที่เกิดในที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมีสภาพเป็นแอ่งน้ำจืดขัง
ติดต่อกันมาชั่วนาตาปี นกที่พบส่วนใหญ่พบในป่าดิบชื้นภาคใต้ มีแหล่ง
กำเนิดในเขตย่อยซุนดา นกหายากที่พบในป่าพรุ เช่นนกเค้าแดงนกเงือกดำ
นกโพระดกหลากสี นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย นกกินแมลงหลังฟู นกตบยุง
มาเลเซีย นกกระเต็นน้อยแถบอกดำ นกปากกบพันธุ์ชวา นกกางเขนน้อย
ปีกดำ
ป่าชายเลน
พบตามปากแม่น้ำและก้นอ่าว ที่ลมสงบ มีนกเพียงไม่กี่ชนิดที่พบเฉพาะในป่า
ชายเลนด้านตะวันตก คือนกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล นกแต้วแล้วป่าโกงกาง
นกจับแมลงป่าโกงกาง นกโกงกางหัวโต นกกระจ้อยป่าโกงกาง นกกินปลีคอ
สีทองแดง นกเปล้าแดง
ป่าดิบเขา
พบในระดับความสูง 900-2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่า
โปร่งกว่าป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น เขียวชอุ่มตลอดปี อากาศค่อนข้างเย็น นก
ที่พบ อยู่ในวงศ์นกกินแมลง วงศ์นกปรอด วงศ์นกกับแมลง วงศ์นกพญาไฟ
วงศ์นกจาบปีกสีอ่อน
ป่าละเมาะ ทุ่งโล่งและพื้นที่การเกษตร
นกเด่นๆที่พบเช่น นกกระแตแต้แวด นกจาบคาเล็ก นกจาบฝนปีกแดง นก
คุ่มอกลาย นกตบยุงเล็ก นกกะรางหัวขวาน นกยอดหญ้าหัวดำ ถ้าหากมีไม้ยืน
ต้นดั้งเดิมขึ้นกระจายห่างๆ ก็อาจมีนกตีทอง นกเค้าโมง นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา
นกหัวขวานด่างอกลายจุด
หาดทรายและหาดหิน
เราจะพบนกชายเลนบางชนิดเช่น นกหัวโตมลายู นกคอสั้นตีนไว นกพลิกหิน
นกปากแอ่นหางลาย นกหัวโตทรายเล็ก นกหัวโตทรายใหญ่ นกหัวโตสีเทา
รวมทั้งนกนางนวลแกลบต่างๆ บริเวณชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหินหรือเป็นหาด
หินมักพบนกยางทะเล นกชนิดอื่นๆ พบน้อย ท้องทะเลนกทะเลที่พบอยู่ใกล้
ชายฝั่งมักเป็นพวกนกนางนวล นกน๊อดดี้ และนกสกัวนกทะเลที่พบห่าง
ไกลชายฝั่ง และตามเกาะต่างๆ มักเป็นนกโตรสลัด นกบู๊บบี้นกร่อนทะเล
นกโต้คลื่นและนกจมูกหลอด
ห้วย หนอง คลอง บึงและทะเลสาบ
เป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำ ริมฝั่งซึ่งมีพืชริมน้ำขึ้นหนาแน่นจะพบนกจาบคา
นกแซงแซว นกอีเสือ และนกพง ถัดจากริมฝั่งไปมักพบนกยางไฟ นกอีล้ำ
นกอัญชัน ไกลออกไปบริเวณน้ำลึก มีพืชพวกจอก แหนขึ้นอยู่มักพบนกอีแจว
นกพริก นกอีโก้ง ส่วนบริเวณที่มีน้ำลึกมาก ไม่มีพืชใดๆ ขึ้นอยู่ แต่อาจมีพืช
ใต้น้ำมักพบนกเป็ดน้ำ นกคู๊ท นกนางนวลแกลบ นกกาน้ำและนกกระทุง
ลำธารและแม่น้ำ
ริมฝั่งลำธารที่มีก้อนหินเป็นซอกเล็กซอกน้อยในระดับความสูงตั้งแต่ 600 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ขึ้นไปมักพบนกกางเขนน้ำหลังเทา นกเขนหัวขาว
ท้ายแดง นกเขนเทาหลังแดง นกมุดน้ำ นกเอี้ยงถ้ำ นกยางเขียว ถ้าระดับความ
สูงต่ำกว่านั้นลงมาจะพบนกกางเขนน้ำหลังดำใหญ่ส่วนตามแม่น้ำหากมีหาด
ทรายริมฝั่งอาจพบนกกระแตหาด นกแอ่นทุ่งเล็ก ถ้าแม่น้ำกว้างป่าสมบูรณ์
และเงียบสงบอาจพบนกอ้ายงั่วได้
เมือง
ในเมืองที่มีแต่อาคารบ้านเรือนนกที่พบบ่อยเช่น นกกระจอกบ้าน นกพิราบป่า
นกแอ่นบ้าน นกเอี้ยงสาริกา ตามสวน หรือพื้นที่สีเขียวในเมืองสามารถพบนก
ขมิ้นน้อยธรรมดา นกตีทอง นกอีวาบตั๊กแตน นกพญาไฟเล็ก นกกาเหว่า ส่วน
ตามชานเมืองซึ่งเป็นไร่นา และพื้นที่รกร้างจะมี นกกระจิบหญ้าสีเรียบ นกยอด
หญ้าหัวดำ นกอีเสือหัวดำ นกเขาไฟ นกยางเปีย นกยางกรอกพันธุ์ชวา
คู่มือดูนก ดูนกภาคเหนือ