สถานที่ท่องเที่ยวไทย unseen thailand Amazing Thailand
ค้นหาสถานี่ท่องเที่ยวไทย เรมาวดี.คอม
Custom Search
|
- พาเที่ยวตามคำขวัญเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี
ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
“พระธาตุเด่น”
พระธาตุหริภุญชัยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดียสถาน 1 ใน 7
องค์ของไทยที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เทียนทอง ธูปเงิน
เป็นเครื่องราชสักการะหลังขึ้นครองราชย์พระธาตุหริภุญไชยตั้งอยู่ในวัดพระธาตุ
หริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดสำคัญที่สุดของ จ. ลำพูน อยู่ใจกลางเมือง อ่านเพิ่ม
“พระรอดขลัง”
พระรอดเป็นสุดยอดพระเครื่องของลำพูน มีอายุนับพันปี เป็นหนึ่งในพระเครื่อง
ชุดเบญจภาคี เชื่อกันว่าใครมีไว้ในครอบครองจะแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้ง
ปวง พระรอดสร้างขึ้นพร้อมกับพระคง พระสุเทวะฤาษีและพระสุกกทันตฤาษี เป็น
ผู้สร้าง
โดยใช้ดินทั้งสี่ทิศของเมืองลำพูน ผสมกับว่านพันชนิด และเกสรดอกไม้
ถวายแด่พระนางจามเทวี กษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย เพื่อเป็นเครื่องปกป้อง
พระองค์ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี
พระรอดมีพลานุภาพคุ้มครองผู้บูชาให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ส่วนพระคง
มีพลานุภาพให้มีความมั่นคงยั่งยืน พระรอดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิ
เพชรบนฐานเขียงพื้นหลังเป็นต้นโพธิ์ พระพักตร์ก้อมเล็กน้อย พระขนง พระเนตร
พระนาสิก และพระโอษฐ์คล้ายศิลปะพุกาม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16
พระคงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงายภายใต้
ต้นโพธิ์ ลักษณะองค์อวบอ้วน ครองจีวรแนบแบบห่มคลุม เมื่อสร้างสำเร็จแล้วได้
บรรจุพระคงไว้ในเจดีย์ของสี่วัดในสี่มุมเมือง คือวัดพระคงฤาษี วัดดอนแก้ว วัด
สังฆาราม และวัดมหาวัน ส่วนพระรอดบรรจุไว้ ณ วัดมหาวันเพียงวัดเดียว
ในช่วง พ.ศ. 2431-2438 มีการปฏิสังขรณ์วัดมหาวัน ขุดพบพระรอดองค์เล็กๆ
จำนวนนับร้อยองค์ และในปีต่อมามีผู้ค้นพบพระรอดในกรุวัดมหาวันอีกจำนวน
หนึ่ง หลังจากนั้นพระรอดไม่มีผู้พบพระรอดกรุวัดมหาวันอีกเลย
ที่วัดมหาวันยังมีพระรอดหลวงขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งประดิษฐานในวิหารเป็นพระ
พุทธรูปหิน หน้าตักกว้าง 17 นิ้ว สูง 36 นิ้ว ปางสมาธิ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี นัก
วิชาการสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวี อัญเชิญมาจากกรุง
ละโว้
“ลำไยดัง”
ลูกใหญ่ เนื้อหนา เปลือกบาง รสหวานกรอบ คือ เอกลักษณ์อันโดดเด่นของลำไย
เมืองลำพูน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของลำพูน จนมีการเปรียบเปรยว่าลำพูนคือ
ลำไย ลำไยคือลำพูน มีผู้นำลำไยเข้ามาปลูกในไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระราช
ชายา เจ้าดารารัศมี ได้นำเมล็ดพันธุ์จากกรุงเทพฯ มาปลูกที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.
2457 จากนั้นจึงมีการขยายพันธุ์ไปทั่วภาคเหนือ
หมูตุ๋นลำไย
ด้วยภูมิประเทศของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะที่ลำพูน เป็นภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ย10-15
องศาเซลเซียส มีความชื้นในอากาศต่ำ ฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน ลำไยจึงติดดอก
ออกผลดี และมีรสชาติกรอบ หอม อร่อย จนมีสูตรก๋วยเตี๋ยวเลืองชือ ก๋วยเตี๋ยว
หมูตุ้นลำไย
ปัจจุบันลำพูนเป็นศูนย์กลางการซื้อขายลำไย มีพื้นที่ปลูกลำไยมากที่สุดของ
ประเทศ โดยปลูกมากที่ อ. เมือง อ. ป่าซางอ. บ้านโฮ่ง และ อ. แม่ทาสายพันธุ์
เด่นคือ พันธุ์อีดอ พันธุ์สีชมพู พันธุ์เบี้ยวเขียว และพันธุ์อีแห้ว มีพื้นที่ปลูกทั้ง
หมดราว 275,871ไร่ คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การเกษตรทั้งจังหวัด
(ข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัด พ.ศ. 2551)
“กระเทียมดี”
แม้กระเทียมจะปลูกได้แทบทุกภูมิภาค แต่กระเทียมของที่ใดก็ไม่สู้ของเมืองลำพูน
แหล่งปลูกกระเทียมของเมืองลำพูนอยู่แถบ อ.ลี้และ อ.บ้านโฮ่งมีผลผลิตกระเทียม
ปีละประมาณ 3,400 ตัน ปัจจัยที่เอื้อแก่การปลูกกระเทียมคือสภาพอากาศที่หนาว
เย็น ความชื้นในอากาศต่ำ และดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี กระเทียม
พันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก เริ่มปลูกในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. และเก็บ
เกี่ยวราวปลายเดือน ก.พ. กระเทียมลำพูนมีเปลือกบาง เนื้อแน่น ไม่ฝ่อแฟบหัวหนึ่ง
มี 8-9 กลีบ มีกลิ่นหอมฉุนที่ภาษาถิ่นเรียกว่า “หอมขิ่ว”
“ประเพณีดีงาม”
ในอดีตลำพูนมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาของภูมิภาคนี้ มีการ
สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวโยงกับพุทธศาสนา
ชาวลำพูนมีประเพณีสำคัญหลายประเพณี ดังเช่นประเพณี สรงน้ำพระธาตุ
หริภุญชัย ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยในวัน ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 เรื่อยไปจน
ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ตามคติล้านนา) หรือราวเดือน พ.ค. ติดต่อกัน
เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนมีการเชิญน้ำสรงพระราชทานและน้ำสรงศักดิ์สิทธิ์จาก
บ่อน้ำทิพย์บนดอยมะข้อในต.มะเขือแจ้ อ.เมือง มาใช้ในการสรงพระธาตุ
ด้วย ในงานมีการแข่งขันตีกลองหลวงและกลองปูจาหรือกลองบูชา
manager.co.th
ศรัทธาจากชาวลำพูนที่ทำต้นสลากย้อมจำนวนมากมายถวายเป็นพุทธบูชา
ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. แถบ อ.เมือง และ อ. บ้านธิ จะมีประเพณีตานสลากย้อม
หรือตานสลากภัต ของหญิงสาวชาวยองที่กำลังเข้าสู่วัยครองเรือน โดยจะร่วมกัน
แต่งดา หรือตกแต่งต้นสลากย้อมสูงกว่า 3 ม. ด้วยกระดาษสีสันสดใส เครื่อง
อุปโภคบริโภค และแก้วแหวนเงินทองที่เก็บหอมรอมริบมาแรมปี เพื่อถวายพระสงฆ์
ประเพณีนี้เริ่มกันที่ วัดพระธาตุหริภุญชัยก่อนวัดอื่นๆชาวยองเชื่อว่าหญิงใดทำต้น
สลากย้อมก่อนครองเรือน หญิงนั้นคือแม่ศรีเรือนที่ดี
ช่วงวันยี่เป็งหรือวันลอยกระทงชาว อ. บ้านโฮ่งมีงานประเพณีแห่แค่หลวง คือ
ประเพณีถวายแค่หรือไม้จุดคบไฟแด่พระสงฆ์ ก่อนเริ่มพิธีชาวบ้านจะร่วมกัน
จักไม้ไผ่เป็นซี่เล็กๆ ยาวราว 1 ม. มัดรวมเป็นกำ แล้วนำไปตกแต่งเป็นต้นแค่
อย่างสวยงาม มีความสูงราว 5 ม. จากนั้นจึงนำไปถวายพระสงฆ์สำหรับใช้จุด
ส่องสว่างในยามค่ำคืน
“จามเทวีศรีหริภุญไชย”
ชาวเมืองลำพูนยกย่องพระนางจามเทวีเป็นกษัตรีผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักร
หริภุญชัย เป็นผู้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนล้านนา อ่านเพิ่ม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ททท.ลำพูน 0 5324 8604 , 0 5324 8607
สายด่วนท่องเที่ยว 1672
จองที่พักออนไลน์ทั่วไทย สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน