สถานที่ท่องเที่ยวไทย unseen thailand Amazing Thailand
ค้นหาสถานี่ท่องเที่ยวไทย เรมาวดี.คอม
Custom Search
วันมาฆบูชา วันแห่งพระธรรม |
วันมาฆบูชาจัดเป็น วันแห่งพระธรรม เพราะเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
แสดง โอวาทปาติโมกข์ แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยอุดมการณ์ หลัก
การ และวิธีการของพระพุทธศาสนา ส่วน วันแห่งพระพุทธ คือ วันวิสาขบูชา เพราะ
เป็นวันที่พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และ วันแห่งพระสงฆ์ คือ วันอาสา
ฬหบูชาเพราะเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบองค์พระรัตนตรัยเป็นครั้งแรกในโลก
|
|
วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิด
ขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคำสอน
โอวาท-ปาฏิโมกข์ ณ วัดเวฬุวัน อันเป็นคำสอนและเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชาเป็นแม่บทในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
วันมาฆบูชา มีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการเกิดขึ้นในวันมาฆบูชา คือ
1.เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
2.พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
3.ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชน
4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือผู้ได้รับ
การอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรงดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่าวัน
จาตุรงคสันนิบาต หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชา เป็นแม่บทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาประกอบ
ด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
หลักการ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมี 3 ประการ ได้แก่
หลักการ 3 ได้แก่
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ
10 ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรม
บถ 10 เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจา
และทางใจ
3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์
ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี 5 ประการ ได้แก่
1. กามฉันทะ คือความพอใจในกาม
2. พยาบาท คือความอาฆาตพยาบาท
3. ถีนะมิทธะ คือความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจ
4. อุทธัจจะ กุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา คือความสงสัย
สิ่งที่สามารถควบคุมนิวรณ์ได้คือ ศีล 5 ได้แก่
11.กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย ศีลข้อ 3 คือการไม่ประพฤติผิดในกาม
2.ความพยาบาทให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 1 คือการไม่ฆ่าสัตว์
3.ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 5 การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 2 การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
5.วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วย ศีลข้อ 4 การไม่พูดเท็จ
อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 4 ประการ ได้แก่
1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียน
ผู้อื่น
3. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น
ได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8
วิธีการ คือ แนวทางปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตนและการเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนามี 6 ประการ คือ
1. อนูปวาโท ไม่ไปว่าร้ายกัน ผู้เผยแผ่คำสอนจะต้องไม่โจมตี ไม่นินทาใคร
2. อนูปฆาโต ไม่ไปล้างผลาญกัน ไม่เผยแผ่ศาสนาด้วยการฆ่า และต้องไม่
ทำให้ใครเดือดร้อน
3. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่ได้ตรัสห้ามไว้ และ
ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ต้องรู้จักประมาณในการกิน การใช้เครื่องอุปโภค
บริโภคทุกอย่าง
5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ เลือกที่นั่งที่นอนในที่สงบ เพื่อให้ตนเองมีโอกาสใน
การบำเพ็ญเพียรเต็มที่
6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค ประกอบความเพียรในการทำใจหยุดนิ่งอยู่เสมอ มุ่งทำ
ตนให้หลุดพ้นจากกิเลส
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.dmc.tv/
เที่ยว 77 จังหวัด UNSEEN THAILAND ที่กินที่เที่ยว
โครงการพระราชดำริ บทความท่องเที่ยวจองที่พัก โรงแรม รีสอร์ท |