remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook
สถานที่ท่องเที่ยวไทย


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+เวียงกุมกาม   
+พระธาตุดอยตุง 
+ปายแคนย่อน+แม่ฮ่องสอน 
+กิ่วฝิ่น ลำปาง
+เขาค้อ เพชรบูรณ์
+ภุหินร่องกล้า
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+ภูสอยดาว อุตรดิตถ์
+น้ำตกทีลอซู ตาก
+ช่องเย็น กำแพงเพชร


ภาคอีสาน
+มอหินขาว ชัยภูมิ
+ภูหลวง เลย
+พระธาตุพนม 
+พระมหาเจดีย์ชัยฯ
+ภูผาเทิบ มุกดาหาร
+วิหารพระไตรปิฏก+โคราช
+ปราสาทหินพนมรุ้ง
+ภูทอก บึงกาฬ
+9000 โบก+อุบลราชธานี
+ทะเลบัวแดงอุดรธานี

RemaHealth
ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+เกาะกูด ตราด
+ตลาดอ่างศิลา 
+หาดทรายแก้ว
ภาคกลาง
+วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ
+เขาช้างเผือก
+กาญจนบุรี
+หลวงพ่อโสธร  
+สวนนกชัยนาท 
+ทุ่งทานตะวัน  
+อุทยานพระพิฆเนศ 
+พระราชวังนามจันทร
+เจดีย์หอย ปทุมธานี
+ดูเหยี่ยว 360 องศา+ประจวบคีรีขันธ์
+ห่มผ้าหลวงพ่อโต
+โป่งยุบ ราชบุีรี
+พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ+พระพุทธรูปทองคำ+ตลาดโรงเกลือ +สระแก้ว
+พระนครคีรี เพชรบุรี
ARTICLE
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
พระพุทธรูปสี่มุมเมือง
+
นางพญาเสือโคร่ง
+
ตำนานรักนกนางแอ่น
อ่านบทความอื่น


UnseenThailand
+
ฉลามวาฬ ริเชลิว
+
พระบาทมงคล108
+
สามพันโบก
+
หุบผาตาด
+พระผุด ภูเก๊ต   

ภาพดอกไม้ทั่วไทย
+ดอกไม้แห่งภูหลวง +ดอกไม้สีม่วงฤดูฝน
+ปีนภูดูดอกไม้
+ทุ่งกระเจียวสุพรรณ
+ดอกกระเจียวชัยภูมิ



ประเพณีวันลอยกระทง


วันลอยกระทงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทยตาม
ปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการ
สะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทา
มหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าว
ศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพ
มาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป

แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้าง
กระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1


ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทง

 




ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มี
เหมือน ๆ กันก็คือ การ ประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม

ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณ
รงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่ง
แวดล้อม

การลอยกระทงในภาคต่างๆ
ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า 'ยี่เป็ง' อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ถ้านับ
ตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า 'ว่าวฮม'
หรือ 'ว่าวควัน' โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า 'กระทง
สาย'


จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของ
ประเพณีลอยกระทง โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่ จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง
หนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัด
งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย ทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุ
ตะไล และไฟพะเนียง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีใน
จังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลาง
คืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง

กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง เช่น งานภูเขาทอง แม่น้ำเจ้าพระยา และวัดวาอาราม
ทั่วกรุงเทพมหานคร


ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุก
ปี


ประเพณีลอยกระทง
มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย

ในงานลอยกระทงจะมีการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ
มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็
จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว


ข้อมูลอ้างอิงจาก วิกิพีเดีย ,variety.horoworld