สถานที่ท่องเที่ยวไทย unseen thailand Amazing Thailand
ค้นหาสถานี่ท่องเที่ยวไทย เรมาวดี.คอม
Custom Search
|
The@Venture Day กรุงเทพฯ
The@Venture Day ขุมทรัพย์นวัตกรรมสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(พญาไท) โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธาน
ในพิธีเปิดอาคาร Venture Club@MUSC และเปิดงาน The@Venture Day ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มาก
มาย อาทิ กิจกรรมสำรวจขุมทรัพย์“บัญชีนวัตกรรม” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมเยี่ยมชม
Start-up unit ต่อยอดผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่ประกอบการ(220318)
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างผู้ชมงาน นักวิจัย นวัตกร ผู้ประกอบการนักลงทุนกิจกรรมแนะนำหลักสูตร
นานาชาติแบบสองปริญญาร่วมกับสถาบันในต่างประเทศเพื่อมุ่งผลิตนวัตกร เพื่อขานรับนโยบาย Thailand 4.0
การแสดงดนตรีในสวน กับ “วงดนตรีสบายสบาย” จากนักศึกษาวัยใส คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรม Open innovation และ Pitching idea จากทีมนักกีฬาและบุคลากร MUSC เพื่อสืบเสาะ
ค้นหาขุมทรัพย์นวัตกรรมสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมการโหวตทีมนวัตกรที่ชื่นชอบ
การเกิดขึ้นของวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่จากแนวคิดใหม่
โดยการนำประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ
โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการสร้างปัจจัยเกื้อหนุนเพื่อเป็นช่องทางให้บุคลากรและนักศึกษา
ของคณะฯที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้มีพื้นที่เพื่อบ่มเพาะให้สามารถสร้างโอกาสประกอบธุรกิจ
ด้วยตนเอง โดยอาศัยงานวิจัยที่มีความพร้อมภายในคณะฯรวมทั้งเป็นแหล่งเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจที่มีความต้องการ
นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ บนพื้นที่ของ VentureClub@MUSC ที่มีการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อ
ต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่
อ.ชาคริต สิริสิงห์ อธิบายถึง การทำงานของยางรถประหยัดพลังงานและเสียง
โดยมีศูนย์วิจัยเทคโนโลยี่ยาง(RTEC)
วิจัยศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง จัดตั้งขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา)
IPath Go Kit สีย้อมพื้นฐานเพื่องานวิเคราะห์ และวิจัยทางการแพทย์ นวัตกรรมสีย้อมโดยนักวิจัยไทย
02-201-5550,02-354-7158
เครื่องดักจับยุง โดย คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็เลิศ พาหะและโรคที่นำโดยพาหะ 02-441-0227
เยื่อหุ้มสมองเทียมสงเคราะห์ โดยความร่วมมือของ ผศ.ดร.วรินกาญจน์ เหมสถาปัตย์ และ ผศ.นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช
นอกจากเยื่อหุ้มสมองเทียมแล้ววัสดุเชิงประกอบนี้มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อนำไปผลิตเยื่อบุช่องหัวใจปอดและ
ผิวหนังเทียมที่มีราคาไม่แพงและมีความปลอดภัยในการใช้งาน จากการร่วมมือสามฝ่าย ได้แก่ รพ.รามาธิบดี ,ภาควิชา
เภสัชวิทยา และ
หน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 02-2015967-8
แชร์หน้านี้
Tweet
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สายด่วนท่องเที่ยว 1672