remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


ภาคอีสาน
ภาคตะวันออก



ภาคกลาง
ภาคใต้
sticker line


ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย






สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand

Idocs Guide to HTMLถิ่นนี้แดนสยามเมืองไทยแสนงาม อร่ามเกินฝัน ทะเลเขียวคราม ต้นไม้ ลำธาร ภูเขา พืชพันธุ์ เป็นเมืองในฝันของทุกผู้คน

ศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 วัน “วสันตวิษุวัต” กลางวันยาวเท่ากลางคืน
วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563วัน “วสันตวิษุวัต”(วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) กลางวัน
ยาวเท่ากลางคืน เมื่อพระอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้ช่วงเวลาขึ้นและตกเท่ากันพอดี
ถือเป็นวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ โดยไทย พระอาทิตย์ขึ้น
06.22 น. และตก 18.29 น.

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan PaGe โพสต์เฟซบุ๊กระบุ “วันที่ 20 มีนาคม 2563 นี้ เป็นวัน
“วสันตวิษุวัต” (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนคำว่า “วิษุวัต”
(Equinox) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก
พอดี แปลเป็นภาษาไทยว่า “ราตรีเสมอภาค” แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยน
ตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา






เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบ
ฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี จึงมีช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือและเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลก
ใต้...สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้า
เวลาประมาณ 18.29 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร)




ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุด
ประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (ระยะ
ห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร)

เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทาง ใกล้-ไกล ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ถือเป็น
อัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา
กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก จึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณ
ไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้
เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก ...จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้น
เร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว”

ภาพและข้อมูลจาก https://siamrath.co.th/n/140304


สถานที่ท่องเที่ยวไทย เล่าไปฟังไป