remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+เชียงใหม่
+เชียงราย
+แม่ฮ่องสอน 
+ลำปาง
+ลำพูน
+น่าน
+แพร่
+พะเยา
+เพชรบูรณ์
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+อุตรดิตถ์
+ตาก
+นครสวรรค์ 
+กำแพงเพชร
+สุโขทัย
+พิจิตร

RemaHealth

ภาคอีสาน
+ขอนแก่น
+ชัยภูมิ

+เลย
+นครพนม
+ร้อยเอ็ด
+มุกดาหาร
+โคราช
+บุรีรัมย์  
+บึงกาฬ
+ุบลราชธานี
+อุดรธานี
+สุรินทร์ 
+สกลนคร 
อ่านเพิ่ม 

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+ตราด
+ชลบุรี
+ระยอง


ภาคกลาง
+กรุงเทพฯ
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท
+ลพบุรี  
+นครปฐม
+ปทุมธานี
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+อ่างทอง
+ราชบุรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+นครนายก
+สระแก้ว
+ปราจีนบุรี
+เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร
ภาคใต้
+กระบี่ 
+ชุมพร
+สงขลา
+ตรัง 
+นครศรีฯ
+สุราษฎร์ธานี
+นราธิวาส   
+ระนอง
+พัทลุง
+พังงา
+ภูเก๊ต
+สตูล 
+ปัตตานี 

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand
วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ

พระอาจารย์จวนกุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียรเพื่อ
ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ ภูทอกมี 2 ลูก
คือ ภูทอกใหญ่ และ ภูทอกน้อย สามารถเข้าชมภูทอกน้อยเท่านั้น ส่วน
ภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม

วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ

บันไดขึ้นภูทอก
แบ่งออกเป็น 7 ชั้น
ชั้นที่ 1
ชั้นที่หนึ่งจะได้สัมผัสกับต้นไม้หลากชนิดนานาพันธ์
ชั้นที่ 2 เป็นบันไดไม้ยาวทอดรับจากชั้นที่ 1 เมื่อเดินตามสะพานไม้ไปเรื่อย ๆ
จะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้าน

ชั้นที่ 3
 เป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน
สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดผ่านชั้น4 ไปสู่ชั้น
ที่ 5 ได้เลยซึ่งเป็นทางค่อนข้างชัน ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์
ส่วนทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 แล้ววกขึ้นชั้นที่ 5 เป็นทางอ้อม

วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆสลับ
กัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา บนชั้นที่ 4 นี้
จะเป็นที่พักของแม่ชี 

ชั้นที่
 5 มีศาลาและกุฏิพระ และเป็นชั้นที่เก็บศพของพระอาจารย์จวนชั้นนี้ตามช่อง
ทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ ตลอดเส้นทาง
สู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง และมีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพ
นิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น 

ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่  พุทธวิหาร  พุทธวิหาร
แปลว่า สถานที่พักผ่อนของท่านผู้ตรัสรู้แล้ว เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ
และเป็นที่พระอริยหลายองค์มาพักและละสังขารที่นี่ชั้นนี้มองออกไปจะเห็นแนว
ของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจนและมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6

วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ

ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา มีความยาว 400เ มตร เป็นชั้นที่
สามารถเดินชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอกได้ดีที่สุดชั้นนี้มีปากทางเข้าเมืองพญา
นาคซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก

วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ

ชั้นที่ 7
 จากชั้นที่หกขึ้นมาชั้นที่เจ็ด จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันได
ผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทาง
ชัน อีกทางหนึ่งเป็นทางอ้อมต้องเดินเวียนไปทางขวามือแต่จะมาบรรจบกันด้าน
บน ทางนี้จะเดินสะดวกกว่าทางแรก
วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดบึงกาฬ
ข้อควรปฏิบัติก่อนขึ้นเขาภูทอก
    1. ห้ามนำสุรา-อาหารไปรับประทานบนยอดเขาโดยเด็ดขาด 
    2. ห้ามส่งเสียงดังรบกวนพระ-เณรที่กำลังภาวนา
    3. ห้ามขีดเขียนสลักข้อความลงบนหิน
    4. ห้ามทำลามกอนาจารฉันท์ชู้สาวและควรแต่งกายให้สุภาพ
    สตรีไม่ควรนุ่งน้อย-ห่มน้อย-เสื้อ-กระโปรง-กางเกงสั้น ห้ามขึ้น
โดยเด็ดขาด(อสุภาพสตรี แปลว่า สตรีที่แต่งกายไม่สุภาพ)

วัดภูทอก อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล
จังหวัดบึงกาฬ อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 163 กิโลเมตร

การเดินทาง ไปภูทอก จังหวัดบึงกาฬ
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด
และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึง อำเภอ
ศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์บ้านสันทรายงาม สู่
บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ททท.บึงกาฬโทร.0-4232-5406-7  
สายด่วนท่องเที่ยว 1672
1412
จองที่พักออนไลน์ทั่วไทยจองที่พักออนไลน์ทั่วไทย สถานที่ท่องเที่ยวบึงกาฬี