remawadee g+blog remawadeeremawadee twitterremawadee facebook


เที่ยว 5 ภาค
ภาคเหนือ
+ เชียงใหม่
+ เชียงราย
+แม่ฮ่องสอน 
+ลำปาง
+เพชรบูรณ์
+พิษณุโลก
+อุทัยธานี 
+อุตรดิตถ์
+ตาก
+กำแพงเพชร
RemaHealth

ภาคอีสาน
+ชัยภูมิ
+เลย
+นครพนม 
+ร้อยเอ็ด
+มุกดาหาร
+โคราช
+บุรีรัมย์  
+บึงกาฬ
+ุบลราชธานี
+อุดรธานี
+สุรินทร์

ภาคตะวันออก
+เขาคิชฌกุฏ
+จันทบุรี
+ตราด
+ชลบุรี
+ระยอง


ภาคกลาง
+กรุงเทพฯ
+กาญจนบุรี
+ฉะเชิงเทรา  
+ชัยนาท
+ลพบุรี  
+นครปฐม
+ปทุมธานี
+ประจวบคีรีขันธ์
+อยุธยา
+ราชบุีรี
+สุพรรณบุรี
+สระบุรี
+นครนายก
+สระแก้ว
+ปราจีนบุรี
+เพชรบุรี
+สมุทรปราการ
+สมุทรสงคราม
+สมุทรสาคร
ภาคใต้
+กระบี่ 
+สงขลา
+ตรัง 
+นครศรีฯ
+สุราษฎร์ธานี
+นราธิวาส   
+ระนอง
+พัทลุง
พังงา
+ ภูเก๊ต
+ สตูล

คอลัมน์ท่องเที่ยว
+คู่มือดูนก บ้านนก
+ปีนเขาที่ไร่เลย
+
นกนางแอ่น
+
ตักบาตรเทโว
+เรือหัวโทง
อ่านบทความอื่น

ข้อมูลท่องเที่ยว
พยากรณ์อากาศ
แผนที่ประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวไทย  unseen thailand  Amazing Thailand
Custom Search
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย เที่ยว 5 ภาค อร่อยทั่วไทย unseen thailand

ในวันที่ 1 กันยายนของทุกปี เป็นวันสืบนาคะเสถียร ขอรวมรำลึกนึกถึงคุณ
งามความดีทั้งมวลของ สืบ นาคะเสถียร กับความเด็ดเดี่ยว และยึดมั่นในอุดม
การณ์ในการรักษาพื้นป่าของแผ่นดินไทยให้คงอยูู่และคงความอุดมสมบูรณ์แห่ง
ป่าเขาลำเนาไพรตอลดไป

สืบ นาคะเสถียร
 เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย
มีชื่อเสียงจาการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่ง
ใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง 


การทำงานของสืบ นาคะเสถียร ที่แก่งเชี่ยวหลาน
สืบ นาคะเสถียร  ได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่มากกว่าหนึ่งแสน
ไร่ แต่มีงบประมาณเริ่มต้นเพียงแปดแสนบาท ไม่มีการอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์
ป่า แต่สืบมิได้ย่อท้อคงพยายามทำงานและศึกษาข้อมูลทั้งทางหนังสือและพราน
ท้องถิ่น

ในปี 2528 สืบ นาคะเสถียร  ได้ติดตามนักวิจัยชาวต่างชาติซึ่งได้รับทุนจากนิตย
สาร เนชั่นแนล จีโอกราฟิกพร้อมด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าไป
สำรวจกวางผา สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ในดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้น
ชาวบ้านจุดไฟล่าสัตว์จนเกิดไฟป่า คณะของสืบหนีไฟป่าเป็นโกลาหล และคำนึง
ณ สงขลา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตกหน้าผาถึงแก่ความตาย

ในปี 2529 สืบ นาคะเสถียร  ได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างใน
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน บริเวณแก่งเชี่ยวหลาน 
จังหวัดสุราษฎร์ธาน สืบได้ช่วยอพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างอยู่ในแก่งเพราะปัญหา
การสร้างเขื่อนจนเกิดน้ำท่วม ช่วยเหลือสัตว์ได้ 1,364 ตัว ส่วนมากที่เหลือถึง
แก่ความตาย สืบจึงเข้าใจว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยพิทักษ์ป่า

ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติได้ ในภายหลังจึงได้ร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น คัดค้าน
รัฐบาลในการที่จะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี
สืบยังได้รายงานผลการอพยพสัตว์ต่อสาธารณชนเพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักภัย
ป่า โดยยืนยันว่าการสร้างเขื่อนมีโทษมากกว่าคุณ เป็นการทำลายทรัพยากรธรรม
ชาติชนิดที่ชดเชยภายหลังมิได้ แต่ความพยายามของสืบนั้นไร้ผล

จนกระทั่งนักอนุรักษ์ได้รวมกลุ่มสนับสนุนสืบ นาคะเสถียร  โครงการสร้างเขื่อนน้ำ
โจนจึงระงับไประหว่างนั้น  สืบ นาคะเสถียร  ได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
คลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกตำแหน่ง และในปี 2530 ได้ปฏิบัติงานในโครง
การศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงในจังหวัดนราธิวาส
ด้วย


                           อนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์  กวางผา

การทำงานของสืบ นาคะเสถียรที่ห้วยขาแข้ง

ในปี 2531 สืบ นาคะเสถียร  กลับเข้ารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า และ
พยายามเสนอให้  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นมรดกโลก
เพื่อเป็นหลักประกันว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวจะได้รับการพิทักษ์รักษา
ถาวร

ปลายปี 2532 สืบ นาคะเสถียร  ได้รับทุนศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ
และได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร -ห้วยขาแข้งด้วย
ครั้นปี 2533 สืบจึงตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร
และได้ดำเนินกิจกรรมหลายประการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและอพยพ
สัตว์ป่าที่ยังตกค้างอยู่ในแก่งเชี่ยวหลาน

ความพยายามของสืบ นาคะเสถียร  นั้นประสบผลสำเร็จน้อย เพราะผู้ใหญ่ใน
บ้านเมืองไม่ให้ความสนใจ ชาวบ้านท้องถิ่นก็สนใจปากท้องมากกว่า จึงรับจ้าง
ผู้มีอิทธิพลเข้ารุกรานป่าเสมอมา สืบเสนอให้สร้างแนวป่ากันชนเพื่อกันชาวบ้าน
ออกนอกแนวกันชน และพัฒนาพื้นที่ในแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านใช้
ประโยชน์ได้ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเช่นกัน



ด้วยความท้อแท้และผิดหวังที่สังคมไม่ใฝ่ใจอนุรักษ์ธรรมชาตสืบ นาคะเสถียร 
จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายกลางคืนวันที่ 31 สิงหาคม 2533 สืบเขียนจดหมายหกฉบับ
มีเนื้อหาลาตาย จัดการทรัพย์สิน อุทิศเครื่องมือเครื่องใช้ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์
ป่าให้แก่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ และสั่งให้ตั้งศาลเคารพดวงวิญญาณเจ้าหน้าที่
ที่เสียชีวิตในการรักษาป่าห้วยขาแข้ง ครั้นเช้ามืดวันที่ 1กันยายน 2533 สืบ นาคะ
เสถียร
  ใช้อาวุธปืนยิงตนเองหนึ่งนัดถึงแก่ความตายในบ้านพักที่ห้วยขาแข้ง

สองสัปดาห์ต่อมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุก
ป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ นาคะเสถียร  ใชได้พยายามขอให้ประชุมมาแล้วหลายครั้ง
จึงมีผู้กล่าวว่า ถ้าไม่มีเสียงปืนในวันนั้น ก็ไม่มีการประชุมดังกล่าว



ในปัจจุบันได้มีการสร้างแนวกันชน ชุมชนชาวบ้านให้ความสำคัญกับป่ามากยิ่งขึ้น
ถือได้ว่าสืบ นาคะเสถียร เป็นแรงผลักดันให้พื้นป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเร
ศวร
 กลับมามีระบบนิเวศน์ และอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลและภาพ Google search

จองที่พักออนไลน์ทั่วไทยจองที่พักออนไลน์ทั่วไทย คอลัมน์ท่องเที่ยว